บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการสร้างความเข้มแข็ง และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วนนวัตกรรม เพื่อการก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และการสร้างเสริมให้เกิดการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของวิสาหกิจขนาดย่อมที่เริ่มจัดตั้งใหม่
ดังนั้น การสร้างผู้ประกอบการใหม่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรม ด้วยการเสริมสร้างความรู้และศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างความเข้มแข็ง สามารถกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ และเปิดโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมตามหลักการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้อง มีโอกาสการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ จะนำธุรกิจขนาดย่อมไปสู่ความสำเร็จในที่สุด
1.อธิบายความหมายของธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
2.อธิบายความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจได้ (K)
3.อธิบายกระบวนการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
หลักการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
บทนำ
SME ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หรือที่เรียกว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่ทำการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต จำหน่าย ขนาดย่อม โดยธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่มีขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้การควบคุมของธุรกิจหรือบุคคลอื่นบุคคลใด อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ และมีพนักงานจำนวนน้อยนั่นเอง
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises = SMEs) ซึ่งครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กิจการการผลิต (Production Sector) หมายถึง การเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ด้วยเครื่องจักรกล หรือเคมีภัณฑ์
1.1 ธุรกิจการผลิต เป็นธุรกิจที่เปลี่ยนรูปวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ซึ่งมีสินค้า
จํานวนมากที่ผลิตขึ้นและจําหน่ายเอง
1.2 ธุรกิจเหมืองแร่ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขุดหาทรัพยากรธรรมชาติแหล่งแร่วัตถุดิบ จากพื้นดิน ทั้งที่เป็นโลหะหรืออโลหะทุกชนิด ทุกประเภท
2. กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
2.1 ธุรกิจค้าส่ง (Wholesaling) หมายถึง ธุรกิจที่คนกลางดําเนินการโดยขายสินค้าต่อให้แก่ คนกลางอื่น ๆ
2.2 ธุรกิจค้าปลีก (Retailing) เป็นธุรกิจที่ขายสินค้าจํานวนเล็กน้อยแก่ผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยตรง
3. กิจการบริการ (Service Sector) หมายความครอบคลุมถึง การศึกษา การสุขภาพ การบันเทิง การขนส่ง การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ การโรงแรมและหอพัก ภัตตาคาร ขายอาหาร ขายเครื่องดื่มของภัตตาคารและร้านอาหาร การให้บริการเช่าสิ่งของ การบันเทิง และการพักผ่อน การให้บริการส่วนบุคคลหรือในครัวเรือน บริการที่ให้กับธุรกิจ การซ่อมแซมทุกชนิด และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ ธุรกิจที่ดําเนินการด้านการผลิตและจําหน่าย ขนาดย่อม เป็นธุรกิจเอกชนที่มีความเป็นอิสระ สามารถนําไปต่อยอดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้โดยแบ่งเป็น 2 ภาคกลุ่มและ 3 ขนาด ดังนี้
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นวิสาหกิจที่มีความคล่องตัวในการปรับสภาพให้เข้ากับ สถานการณ์ทั่วไปของประเทศสามารถรองรับ แรงงานที่เข้ามาใหม่ก่อให้เกิดการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป ดังนี้
1) ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
2) เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่
3) เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ