บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจแต่ละรูปแบบ และแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีแบบใดที่มีลักษณะชัดเจนว่าดีที่สุด ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์จุดประสงค์ของการเปิดกิจการ แนวทางของธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต เช่น ถ้าผู้ประกอบการต้องการอำนาจในการตัดสินใจสูง มีทรัพยากรไม่มาก ต้องการความคล่องตัวก็ควรจัดตั้งแบบเจ้าของคนเดียวจึงจะเหมาะสม ถ้าต้องการความน่าเชื่อถือ ต้องการหาแหล่งเงินทุน ก็ควรจะเปิดในรูปแบบบริษัทซึ่ง ถึงแม้จะมีขั้นตอนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก แต่ด้วยศักยภาพที่สามารถรองรับการขยายตัวก็มีความเหมาะสมมากกว่า และเลือกว่าจะเลือกประเภทธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสม
1.บอกประเภทของธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
2.อธิบายรูปแบบธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
3.บอกตัวอย่างธุรกิจขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จได้ (K)
หลักการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
บทนำ
ธุรกิจแต่ละรูปแบบ และแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีแบบใดที่มีลักษณะชัดเจนว่าดีที่สุด ผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์จุดประสงค์ของการเปิดกิจการ แนวทางของธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต เช่น ถ้าผู้ประกอบการต้องการอำนาจในการตัดสินใจสูง มีทรัพยากรไม่มาก ต้องการความคล่องตัวก็ควรจัดตั้งแบบเจ้าของคนเดียวจึงจะเหมาะสม ถ้าต้องการความน่าเชื่อถือ ต้องการหาแหล่งเงินทุน ก็ควรจะเปิดในรูปแบบบริษัทซึ่ง ถึงแม้จะมีขั้นตอนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาก แต่ด้วยศักยภาพที่สามารถรองรับการขยายตัวก็มีความเหมาะสมมากกว่า และเลือกว่าจะเลือกประเภทธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสม
ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
การประกอบธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) นั้น มีอยู่หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การค้า และการบริการ รวมถึงธุรกิจแฟรนไชส์ และ OTOP ด้วย ซึ่งอาจเป็นธุรกิจในภาคการเกษตรหรือ นอกภาคเกษตร หรือภาคบริการ ปัจจัยสําคัญในการเลือกประเภทธุรกิจนั้นขึ้นอยู่กับทักษะของ ผู้ประกอบการที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจ (Unique Skill Driven Product) สามารถแบ่งประเภทธุรกิจขนาดย่อมได้ดังนี้
1) ธุรกิจการผลิต (Manufacturing) หมายถึง การแปรสภาพปัจจัยการผลิตโดยอาศัย กระบวนการผลิตในการแปลงสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ
2) ธุรกิจการค้าส่ง (Wholesaling) และธุรกิจการค้าปลีก (Retailing)
การค้าส่ง (Wholesaling) หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า หรือบริการให้กับองค์กรที่ซื้อไปเพื่อการขายต่อหรือเพื่อใช้ในทางธุรกิจ
การค้าปลีก (Retailing) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าหรือบริการ ให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายเพื่อนําไปใช้ส่วนตัว
3) ธุรกิจบริการ (Service) หมายถึง ธุรกิจที่ใช้พนักงานบริการตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าธุรกิจให้บริการมีหลายชนิด