บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
ทำเลที่ตั้งเป็นสถานที่ที่จะใช้เป็นแหล่งผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการของสถานประกอบการ ซึ่งในการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ดังนั้น การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจขนาดย่อม จึงเป็นการตัดสินใจที่มีความสำคัญ ในการที่จะทำธุรกิจนั้นเข้าถึงลูกค้าได้โดยง่าย รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม
1.อธิบายความหมายและหลักเกณฑ์ในการเลือกทําเลที่ตั้งได้ (K)
2.บอกปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกทําเลที่ตั้งได้ (K)
3.บอกรูปแบบทําเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมได้ (K)
4.วิเคราะห์และเลือกทําเลที่ตั้งของธุรกิจขนาดย่อมได้ (P)
ทําเลที่ตั้ง หมายถึง แหล่งที่จะทําให้ธุรกิจสามารถประกอบกิจกรรมทางธุรกิจได้สะดวกที่สุด โดย คํานึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น กําไร ค่าใช้จ่าย การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมภายนอก จนสิ้นสุดการดําเนินธุรกิจนั้น
การเลือกจุดที่ตั้งของกิจการแต่ละแห่งจะมีหลักเกณฑ์ที่เลือกแตกต่างกันออกไปแล้วแต่สภาพของ กิจการนั้น ๆ ในการเลือกทําเลที่ตั้งจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นต่อความสําเร็จของกิจการดังหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ความพอใจส่วนบุคคล เจ้าของกิจการอาจพิจารณาตั้งธุรกิจของตนเองในเขตท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ โดยสามารถที่จะใช้ประโยชน์ในการสร้างความเชื่อถือและอาศัยประโยชน์จากความคุ้นเคยกับคนในท้อง ถิ่นของชุมชนนั้น ๆ
2. ด้านลูกค้า จะขึ้นอยู่กับสภาพการดําเนินธุรกิจประเภทนั้นๆ เช่น ธุรกิจค้าปลีกและบริการ ควรเลือกทําเลที่ตั้งที่ใกล้กับลูกค้าและความสะดวกต่อการเข้ามาติดต่อ
3. แหล่งวัตถุดิบ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบระหว่าง ความใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ
4. การขนส่ง ถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของกิจการ เพราะมีผลต่อเวลาและต้นทุนในการส่มอบ เช่น การขนส่งทางอากาศ ทางเรือ รถไฟ หรือทางบก
5. สภาพการแข่งขัน ถ้าการแข่งขันรุนแรงมากจะมีผลกระทบต่อระดับกําไรของกิจการโดยตรง
6. ทัศนคติของท้องถิ่นที่มีต่อกิจการใหม่ มีผลต่อการยอมรับและปฏิเสธในกิจการนั้น ๆ เป็น โอกาสที่กิจการอาจประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวได้
7. ด้านกฎหมายและภาษีอากร การปกครองส่วนท้องถิ่น การส่งเสริมการลงทุนและนโยบาย การส่งเสริมในระดับภูมิภาคต่างๆ ของรัฐมีผลต่อแรงจูงใจในการลงทุนในแต่ละท้องที่แตกต่างกัน
8. ด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยพื้นฐานในการประกอบการของธุรกิจเกือบทุก ประเภท
9. ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ค่าครองชีพ ที่พักอาศัย วัฒนธรรมประเพณีและอื่นๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากร
10. การเจริญเติบโตในอนาคต ควรพิจารณาถึงโอกาสในการขยายกิจการในอนาคต
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับทําเลที่ตั้ง รวมถึงความสะดวกในการเข้าถึงลูกค้า การขนส่ง แหล่งแรงงาน ทัศนคติของชุมชน ความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ และอื่นๆ พิจารณาดังนี้
1. ทําเลที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ กิจการหลายแห่งต้องการทําเลที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ
2. ที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้า ทําเลที่ตั้งที่อยู่ในพื้นที่ของการให้การบริการต่าง ๆ แก่ลูกค้า
3. ที่ตั้งใกล้แหล่งแรงงาน พื้นที่ที่สามารถจัดหาแรงงานที่มีคุณลักษณะที่ต้องการได้เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ต้องทํางานหนัก จําเป็นต้องคํานึงถึงความสามารถในการจัดหาแรงงานที่กิจการ มีความต้องการ
4. ชุมชนหรือสังคม ทําเลที่ตั้งอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเรื่องความเป็นที่ยอมรับของ ชุมชนหรือสังคมในพื้นที่ว่ามากน้อยเพียงใด
5. พื้นที่ที่ตั้ง การพิจารณาพื้นที่ของทําเลที่ตั้งเป็นปัจจัยที่ต้องคํานึงถึง เช่น ต้นทุนสาธารณูปโภค พื้นฐานต่างๆ
6. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตในแต่ละพื้นที่ที่มีให้กับพนักงาน ปัญหานี้อาจจะกลายเป็น ปัญหาที่มีความสําคัญในอนาคตได้เมื่อกิจการจ้างพนักงานชุดใหม่เข้ามาทํางาน
7. ปัจจัยอื่นๆ เช่น พื้นที่สวนสาธารณะของลูกค้า ทัศนียภาพในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้า ความสะดวกในการเดินทาง หรือพื้นที่เพื่อขยายกําลังการผลิตในอนาคต ต้นทุนก่อสร้าง ค่าเบี้ยประกัน ภัยในพื้นที่ การแข่งขันในพื้นที่ การจราจรในพื้นที่ ถนนที่ผ่านในพื้นที่ หรือการเมืองในพื้นที่ เป็นต้น