บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชา ง23102 การงานอาชีพ 6
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
เรื่อง การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
การจดทะเบียนธุรกิจนั้นเริ่มตั้งแต่ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ว่าจะเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบใด ก็จะจดทะเบียนธุรกิจตามประเภทธุรกิจนั้น เช่น ธุรกิจเจ้าของคนเดียวจดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ธุรกิจห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นรูปแบบคณะบุคคล ธุรกิจห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียนเป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด และธุรกิจบริษัทจำกัดจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัทจำกัด
1.อธิบายและจดทะเบียนพาณิชย์ได้ (K)
2.อธิบายและจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ (K)
3.อธิบายและจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ (K)
4.อธิบายและจดทะเบียนบริษัทได้ (K)
การจดทะเบียนพาณิชย์ของธุรกิจขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เป็นหลักฐานการค้า
เป็นฐานข้อมูลสถิติของประเทศ
สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบขอสินเชื่อ
เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
ผู้ที่ทําธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือบริษัทที่ทําธุรกิจขายสินค้าต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าเป็นธุรกิจประเภทบริการอย่างเดียว ซึ่งไม่มีการขายสินค้าเกี่ยวข้อง ไม่ต้อง จดทะเบียนร้านค้า
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
1.การค้าเร่ การค้าแผงลอย
2.พาณิชยกิจเพื่อการบํารุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3.พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4.พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5.พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6.พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน
1) คําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ขอจากเจ้าหน้าที่หรือดาวน์โหลด www.dbd.go.th
2) สําเนาบัตรประจําตัว และสําเนาทะเบียนบ้าน
1.ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน
2.แสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์
3.จัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสํานักงาน
4.ยื่นคําขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน
5.ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคําสั่งของนายทะเบียน
6.ต้องอํานวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าตรวจสอบ
ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคํา ไม่ยอมให้ พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบในสํานักงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคําร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ ไว้ที่สํานักงานที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทําป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท
ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งทําการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือทําการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์
ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจํา
ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ทําธุรกิจ ออนไลน์ เช่น ขายสินค้าออนไลน์ทางเว็บไซต์หรือ สื่อสังคมออนไลน์ , ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย , บริการอินเทอร์เน็ต , ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้า
1) จองเชื่อบริษัทที่ www.dbd.go.th
2) จดทะเบียนหนังสือ บริคณห์สนธิ และบริษัททางออนไลน์
3) รอให้นายทะเบียนตรวจสอบ
4) พิมพ์เอกสารที่จดทะเบียน ออนไลน์และเตรียมเอกสาร ประกอบอื่นๆ
5) ยื่นคําขอด้วยตนเอง ที่สํานักงานใกล้บ้าน